วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

KFC-HISTORY


ประวัติความเป็นมาของร้าน KFC

(ผู้พันฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส) ท่านเป็นผู้คิดค้นสูตรไก่ทอดที่มีรสชาติและชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง ร้านเคเอฟซี



ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2433 ที่เมืองเฮนรี่วิลล์ มลรัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่ท่านจะเริ่มธุรกิจร้านอาหาร ท่านได้ผ่านงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินรถไฟ การเดินเรือกลไฟ นายหน้าขายประกันชีวิต แต่ด้วยความอุตสาหะและความรักในการปรุงอาหาร ท่านได้เปิดร้านอาหารแห่งแรกขึ้นที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในเมืองคอร์บิน “มลรัฐเคนตั๊กกี้” เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่เดินทางผ่านไปมา กิจการร้านอาหารของท่านก็เริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง


ท่านได้ขยายกิจการไปยังโรงแรมที่ตั้งอยู่อีกฟากของถนนโดยเปิดร้านอาหารขนาด 142 ที่นั่ง ผู้พันแซนเดอร์ส รักการทำอาหารและชอบทดลองการปรุงแต่งอาหารด้วยเครื่องเทศแปลกๆ ท่านได้ทดลองผสมเครื่องเทศและสมุนไพร 10 ชนิดกับแป้งสาลี คลุกเคล้ากับไก่แล้วนำไปทอด

ในวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเตรียมไก่ทอดเพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ท่านได้ผสมเครื่องเทศตัวที่ 11 ลงไปในส่วนผสมเดิมนั้น และท่านได้กล่าวว่า “ด้วยส่วนผสมทั้ง 11 ชนิดนี้ ผมได้ค้นพบไก่ทอดที่อร่อยที่สุดเท่าที่ผมเคยกินมา” และสูตรไก่ทอดนี่เอง ที่เป็นสูตรลับที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน


ในปี พ.ศ. 2478 แซนเดอร์ส ได้รับการยกย่องจากผู้ว่าการรัฐเคนตั๊กกี้ให้เป็น “Kentucky Colonel” ในฐานะที่ร้านอาหารของท่านเป็นร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของรัฐเคนตั๊กกี้

ธุรกิจร้านอาหารของท่านเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างดีจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการตัดถนนเส้นใหม่ ทำให้ผู้คนใช้เส้นทางเดิมลดน้อยลง คุณลุงจึงตัดสินใจปิดกิจการร้านอาหารของตน

ด้วยคุณภาพของไก่ทอดสูตรลับเฉพาะของคุณลุง ในปี พ.ศ. 2495 ผู้พันแซนเดอร์สได้เริ่มธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยเงินลงทุนเพียง 105 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ เดินทางไปพร้อมกับสูตรลับ ขั้นตอนและอุปกรณ์ในการทอดไก่ของท่าน เพื่อขายกรรมวิธีการทอดไก่ด้วยสูตรลับของเครื่องเทศแก่เจ้าของร้านอาหารภัตตาคารทั่วสหรัฐอเมริกา ท่านได้แวะเยี่ยมและถ่ายทอดกรรมวิธีการทอดไก่ตามแบบฉบับของท่าน เมื่อเสร็จแล้วท่านก็จะไปนั่งรับประทานอาหารและต้องปฎิบัติสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “Coloneling” เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของท่านประทับใจในรสชาติไก่ทอดและบริการอันดีเลิศ

ท่านขายแนวความคิดนี้เพียง 5 เซ็นต์ เป็นค่าลิขสิทธิ์ของไก่ทุกชิ้นที่ขายไป โดยที่สัญญาส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการ ตกลงกันโดยการจับมือเท่านั้น ปี พ.ศ. 2507 มีผู้สนใจเข้าร่วมธุรกิจกับผู้พันแซนเดอร์สกว่า 600 คนทั่วสหรัฐ อเมริกา และแคนาดา เมื่อขอบข่ายของธุรกิจได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเกินความสามารถที่ผู้พันแซนเดอร์สจะรองรับได้ ท่านก็ได้ตัดสินใจขายธุรกิจให้กับกลุ่มนักลงทุนโดยการนำของ John Y. Brown Jr. (จอห์น วาย บราวน์ จูเนียร์) อดีตผู้ว่าการรัฐเคนตั๊กกี้ และ Jack Massy (แจ๊ค แมสซี่) จากเมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี โดยที่ผู้พันแซนเดอร์ส ยังคงดำรงตำแหน่งเป็น Kentucky Fried Chicken Goodwill Ambassador เพื่อคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ ธุรกิจก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วและเริ่มมีชื่อ (Kentucky Fried Chicken Corporation) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2512 โดยมีสาขามากกว่า 3,500 แห่งทั่วโลก

ในขณะนั้น 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 บริษัท Heublein Inc. ได้ซื้อกิจการ KFC Corporation ต่อจากนักธุรกิจกลุ่มเดิม

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ผู้พันแซนเดอร์สเสียชีวิต โดยมีอายุรวม 90 ปี ถึงแม้ว่าท่านจะจากเราไปแล้วก็ตาม แต่ไก่ทอดสูตรลับเฉพาะของท่านยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และในปีพ.ศ. 2525 บริษัท R.J. Reynolds Industries, Inc. (บริษัท RJR Nabisco, Inc. ในปัจจุบัน) ได้ซื้อกิจการของ Heublein Inc. ทำให้ Kentucky Fried Chicken เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Heublein Inc. การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ Kentucky Fried Chicken เกิดขึ้นเมื่อ PepsiCo (เป็ปซี่โค) สนใจในธุรกิจร้านอาหารและได้ซื้อลิขสิทธิ์ของเคเอฟซีต่อจาก บริษัท RJR Nabisco, Inc ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2529

เดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2540 เป็ปซี่โค (PepsiCo) ได้มีนโยบายในการแยกตัวกลุ่มธุรกิจร้านอาหารซึ่งได้แก่ เคเอฟซี พิซซ่าฮัท และทาโก้เบลล์ ออกเป็นบริษัทใหม่ ภายใต้ชื่อ TRICON Global Restaurants, Inc.(ไทรคอน โกลโบล เรสเทอรองตส์ อิงค์) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีจำนวนสาขามากที่สุดกว่า 30,000 แห่งใน 100 ประเทศทั่วโลก

เดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2545 บริษัท Tricon Global Restaurants, Inc. ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Yum! Brands, Inc. (ยัม! แบรนด์ส อิงค์) หลังจากได้เข้าซื้อกิจการของร้านอาหารลอง จอห์น ซิลเวอร์ และ เอ แอนด์ ดับบลิว ทำให้บริษัทมีแบรนด์อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 5 แบรนด์ด้วยกันได้แก่ เคเอฟซี, พิซซ่าฮัท, ทาโก้ เบลล์, ลอง จอห์น ซิลเวอร์ และ เอ แอนด์ ดับบลิว จึงเป็นเหตุผลที่เปลี่ยนชื่อบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนเครือข่ายร้านอาหารที่ดำเนินกิจการอยู่ อีกทั้งชื่อ Yum! นี้ยังเป็นชื่อที่ใช้เรียกหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ปัจจุบันเคเอฟซีเป็นธุรกิจร้านอาหารไก่ทอดที่ใหญ่ที่สุดในโลก นำเสนอเมนูรสชาติเยี่ยมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม จากจำนวนสาขาที่มีมากกว่า 13,000 แห่ง ใน 80 ประเทศทั่วโลกพร้อม ให้บริการสำหรับมื้อ "อร่อยของคุณ"


LOGO KFC ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมเป็นพนักงาน KFC สาขาโลตัสสุพรรณบุรี ผมและเพื่อนๆในร้านคิดว่าคิดว่า ผู้จัดการและทีม เมนิเนเจอร์ ของสาขา โลตัสสุพรรณบุรีไม่เหมาะสมที่จะเป็นทีมนะครับ ด้วยเหตุผลที่ เอาแต่ใจ ไม่ฟังเหตุผลของพนักงาน และกดดันพนักงานในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ต้องทำทุกตำแหน่ง ไม่มีว่าแม้แต่วินาทีเดียวลูกค้าไม่มียืนเฉยๆก้อไม่ได้ถูกด่าว่าอีก จนพนักงานออกเกือบหมด จาก 30 กว่าตอนนี้เหลือแค่ 20 นิดๆเอง ที่มาโพสวันนี้เพราะอยากให้ทางสาขาใหญ่ทำการแก้ไข และตรวจสอบความจิงเอาว่า ทีม เมนิเนเจอรืชุดนี้ควรทำงานในสาขานี้หรือไม่ แต่ถ้าหากทางสาขาใหญ่เช็คดูว่า 3-4 เดือนที่ผ่านมานี้ มีพนักงานเข้าออกแล้วกี่คนก้อจะทราบเองว่าเพราะงานหรือทีม ที่ทำให้พนักงานออก (ตัวอย่าง เช่น พนักงานไม่ทราบก้อน่าจะบอกไม่ใช่เอาอะไรไปปาไปกว้างพนักงาน) ขอร้องให้ไปตรวจสอบหน่อยนะครับ