วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

KFC-HISTORY


ประวัติความเป็นมาของร้าน KFC

(ผู้พันฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส) ท่านเป็นผู้คิดค้นสูตรไก่ทอดที่มีรสชาติและชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง ร้านเคเอฟซี



ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2433 ที่เมืองเฮนรี่วิลล์ มลรัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่ท่านจะเริ่มธุรกิจร้านอาหาร ท่านได้ผ่านงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินรถไฟ การเดินเรือกลไฟ นายหน้าขายประกันชีวิต แต่ด้วยความอุตสาหะและความรักในการปรุงอาหาร ท่านได้เปิดร้านอาหารแห่งแรกขึ้นที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในเมืองคอร์บิน “มลรัฐเคนตั๊กกี้” เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่เดินทางผ่านไปมา กิจการร้านอาหารของท่านก็เริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง


ท่านได้ขยายกิจการไปยังโรงแรมที่ตั้งอยู่อีกฟากของถนนโดยเปิดร้านอาหารขนาด 142 ที่นั่ง ผู้พันแซนเดอร์ส รักการทำอาหารและชอบทดลองการปรุงแต่งอาหารด้วยเครื่องเทศแปลกๆ ท่านได้ทดลองผสมเครื่องเทศและสมุนไพร 10 ชนิดกับแป้งสาลี คลุกเคล้ากับไก่แล้วนำไปทอด

ในวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเตรียมไก่ทอดเพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ท่านได้ผสมเครื่องเทศตัวที่ 11 ลงไปในส่วนผสมเดิมนั้น และท่านได้กล่าวว่า “ด้วยส่วนผสมทั้ง 11 ชนิดนี้ ผมได้ค้นพบไก่ทอดที่อร่อยที่สุดเท่าที่ผมเคยกินมา” และสูตรไก่ทอดนี่เอง ที่เป็นสูตรลับที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน


ในปี พ.ศ. 2478 แซนเดอร์ส ได้รับการยกย่องจากผู้ว่าการรัฐเคนตั๊กกี้ให้เป็น “Kentucky Colonel” ในฐานะที่ร้านอาหารของท่านเป็นร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของรัฐเคนตั๊กกี้

ธุรกิจร้านอาหารของท่านเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างดีจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการตัดถนนเส้นใหม่ ทำให้ผู้คนใช้เส้นทางเดิมลดน้อยลง คุณลุงจึงตัดสินใจปิดกิจการร้านอาหารของตน

ด้วยคุณภาพของไก่ทอดสูตรลับเฉพาะของคุณลุง ในปี พ.ศ. 2495 ผู้พันแซนเดอร์สได้เริ่มธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยเงินลงทุนเพียง 105 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ เดินทางไปพร้อมกับสูตรลับ ขั้นตอนและอุปกรณ์ในการทอดไก่ของท่าน เพื่อขายกรรมวิธีการทอดไก่ด้วยสูตรลับของเครื่องเทศแก่เจ้าของร้านอาหารภัตตาคารทั่วสหรัฐอเมริกา ท่านได้แวะเยี่ยมและถ่ายทอดกรรมวิธีการทอดไก่ตามแบบฉบับของท่าน เมื่อเสร็จแล้วท่านก็จะไปนั่งรับประทานอาหารและต้องปฎิบัติสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “Coloneling” เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของท่านประทับใจในรสชาติไก่ทอดและบริการอันดีเลิศ

ท่านขายแนวความคิดนี้เพียง 5 เซ็นต์ เป็นค่าลิขสิทธิ์ของไก่ทุกชิ้นที่ขายไป โดยที่สัญญาส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการ ตกลงกันโดยการจับมือเท่านั้น ปี พ.ศ. 2507 มีผู้สนใจเข้าร่วมธุรกิจกับผู้พันแซนเดอร์สกว่า 600 คนทั่วสหรัฐ อเมริกา และแคนาดา เมื่อขอบข่ายของธุรกิจได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเกินความสามารถที่ผู้พันแซนเดอร์สจะรองรับได้ ท่านก็ได้ตัดสินใจขายธุรกิจให้กับกลุ่มนักลงทุนโดยการนำของ John Y. Brown Jr. (จอห์น วาย บราวน์ จูเนียร์) อดีตผู้ว่าการรัฐเคนตั๊กกี้ และ Jack Massy (แจ๊ค แมสซี่) จากเมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี โดยที่ผู้พันแซนเดอร์ส ยังคงดำรงตำแหน่งเป็น Kentucky Fried Chicken Goodwill Ambassador เพื่อคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ ธุรกิจก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วและเริ่มมีชื่อ (Kentucky Fried Chicken Corporation) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2512 โดยมีสาขามากกว่า 3,500 แห่งทั่วโลก

ในขณะนั้น 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 บริษัท Heublein Inc. ได้ซื้อกิจการ KFC Corporation ต่อจากนักธุรกิจกลุ่มเดิม

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ผู้พันแซนเดอร์สเสียชีวิต โดยมีอายุรวม 90 ปี ถึงแม้ว่าท่านจะจากเราไปแล้วก็ตาม แต่ไก่ทอดสูตรลับเฉพาะของท่านยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และในปีพ.ศ. 2525 บริษัท R.J. Reynolds Industries, Inc. (บริษัท RJR Nabisco, Inc. ในปัจจุบัน) ได้ซื้อกิจการของ Heublein Inc. ทำให้ Kentucky Fried Chicken เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Heublein Inc. การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ Kentucky Fried Chicken เกิดขึ้นเมื่อ PepsiCo (เป็ปซี่โค) สนใจในธุรกิจร้านอาหารและได้ซื้อลิขสิทธิ์ของเคเอฟซีต่อจาก บริษัท RJR Nabisco, Inc ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2529

เดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2540 เป็ปซี่โค (PepsiCo) ได้มีนโยบายในการแยกตัวกลุ่มธุรกิจร้านอาหารซึ่งได้แก่ เคเอฟซี พิซซ่าฮัท และทาโก้เบลล์ ออกเป็นบริษัทใหม่ ภายใต้ชื่อ TRICON Global Restaurants, Inc.(ไทรคอน โกลโบล เรสเทอรองตส์ อิงค์) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีจำนวนสาขามากที่สุดกว่า 30,000 แห่งใน 100 ประเทศทั่วโลก

เดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2545 บริษัท Tricon Global Restaurants, Inc. ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Yum! Brands, Inc. (ยัม! แบรนด์ส อิงค์) หลังจากได้เข้าซื้อกิจการของร้านอาหารลอง จอห์น ซิลเวอร์ และ เอ แอนด์ ดับบลิว ทำให้บริษัทมีแบรนด์อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 5 แบรนด์ด้วยกันได้แก่ เคเอฟซี, พิซซ่าฮัท, ทาโก้ เบลล์, ลอง จอห์น ซิลเวอร์ และ เอ แอนด์ ดับบลิว จึงเป็นเหตุผลที่เปลี่ยนชื่อบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนเครือข่ายร้านอาหารที่ดำเนินกิจการอยู่ อีกทั้งชื่อ Yum! นี้ยังเป็นชื่อที่ใช้เรียกหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ปัจจุบันเคเอฟซีเป็นธุรกิจร้านอาหารไก่ทอดที่ใหญ่ที่สุดในโลก นำเสนอเมนูรสชาติเยี่ยมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม จากจำนวนสาขาที่มีมากกว่า 13,000 แห่ง ใน 80 ประเทศทั่วโลกพร้อม ให้บริการสำหรับมื้อ "อร่อยของคุณ"


LOGO KFC ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

KFC-ผู้ก่อตั้ง


ประวัติผู้พันแซนเดอร์ส

"ความตั้งใจเล็ก ๆ ที่ยังเหลืออยู่"พ่อของเขาเสียชีวิตตอนที่เขาอายุได้เพียงห้าขวบ เขาต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ขณะอายุ 16 ปี ตอนอายุ 17ปี เขาแสดงความสามารถพิเศษด้วยการตกงานติดต่อกันถึง 4 ครั้ง เขาแต่งงานตอนอายุ 18 ปี ปีถัดมาเขาได้เป็นพ่อคน แต่ชีวิตคู่ของเขาก็มีความ สุขอยู่ได้ไม่นานนัก อายุ 20ปี ภรรยาของเขาพาลูกสาวหนีไป เพราะทนใช้ชีวิตกับ เขาไม่ได้ ช่วงอายุ 18-22 ปี เขาประกอบอาชีพเป็นคนขายตั๋วรถไฟแล้วก็ล้มเหลว แต่เขาก็ยังต่อสู้กับชีวิตด้วยการหาโอกาสให้ชีวิต แต่ทุกอย่างที่เขาทำก็ไม่วายล้มเหลว เหมือนเดิม เขาสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพแต่ก็ถูกขับออกมา หันเหมาสมัครเข้าโรงเรียนกฎหมายแต่ด้วยความสามารถอันเอกอุ เขาถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดี แล้วเขาก็ไปทำงานเป็นพนักงานขายประกัน แน่นอนที่สุด เขาล้มเหลวอีกครั้ง (แล้ว) แค่เกริ่นมาข้างต้นก็คงไม่ต้องบอกว่า ชายคนนี้ทำอะไรไม่ได้เรื่องเลยสักอย่าง ! แต่ก็อย่างว่าแหละ คนเราอะไรมันจะไม่ได้เรื่องไปเสียหมด สิ่งเดียวที่เขาพบว่า เขาทำได้ดีก็คือการทำอาหาร ดังนั้นเขาจึงไปทำงานเป็นพ่อครัวและคนล้างจานในร้าน กาแฟเล็กๆ แห่งหนึ่งแต่นั่นก็ไม่ใช่ชีวิตที่ทรงคุณค่าอะไรเลยในความคิดของเขา ชีวิตที่ร้านกาแฟ เขามีเวลามากมายที่จะนั่งคิดและทำอะไรได้มากพอสมควร แต่เขากลับเลือกใช้เวลานั่งคิดถึงภรรยาและลูกสาวของเขาเขาเพียรพยายามติดต่อภรรยาและอ้อนวอนให้เธอกลับมาใช้ชีวิตร่วมกันอีกครั้ง แต่ได้รับคำปฏิเสธ เขาเปลี่ยนความ คิดใหม่ เขาไม่ต้องการภรรยาอีกต่อไป ขอเพียงแต่ได้ลูกสาวกลับคืนมาก็พอ เพราะเขารักและคิดถึงเธอเหลือเกิน เขาใช้เวลาว่างในร้านกาแฟวางแผนในการนำลูกสาวกลับคืนมาสู่อ้อมอกของตนเขาวางแผน ทุกขั้นตอนละเอียดยิบ คำนวณทุกฝีก้าว ในที่สุดแผนการอันแสนยาวนานก็เสร็จสิ้นลง เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์คุณพ่อวัยรุ่นผู้น่าสงสารซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้นอกบ้านหลังเล็กๆ ของภรรยาของเขา เฝ้ามองลูกสาวของเขาเล่นอยู่หน้าบ้านและเตรียม พร้อมที่จะ 'ลักพาตัวเธอ!' แล้ววันที่ตั้งใจไว้ก็มาถึง เขาซ่อนตัวอยู่หลังพุ่มไม้อย่างระมัดระวัง แม้จะรู้สึกกังวล ตื่นเต้นและตระหนก อยู่บ้าง แต่นั่นมิอาจเทียบได้กับความรักที่เขา มีต่อลูก เขาตัดสินใจที่จะต้องลงมือทำให้สำเร็จ แต่แล้วอนิจจา ...วันนั้นลูก สาวของเขาไม่ออกมาเล่นหน้าบ้านเลย แม้กระทั่งความพยายามในการก่ออาชญากรรม เขาก็ยังล้มเหลว เขารู้สึกเหมือนคนที่พ่ายแพ้ต่อโชคชะตารู้สึกเหมือนคนไม่มีค่า และเหมือนพระเจ้ากำหนดมาแล้วว่าเขาจะ ต้องอยู่เพียงลำพังไปตลอดชีวิต แต่เหมือนปาฏิหาริย์ ในที่สุดเขาก็สามารถโน้มน้าวภรรยาให้กลับมาอยู่ด้วยกันได้ พวกเขาทำงานด้วยกันในร้านกาแฟแห่งนั้น ทำอาหารและล้างจานอยู่จนกระทั่งเขาเกษียณ ตอนอายุ 65 ปี วันแรกของการเกษียณอายุ เขาได้รับเช็คเงินประกันสังคมฉบับแรกของเขา เป็นเงิน 105 ดอลลาร์ (ราวสี่พันบาท)เช็คดังกล่าวเหมือนเป็นตัวแทนของรัฐที่ฝากมาบอกเขาว่า เขาไม่อาจจะดูแลตัวเองได้อีกต่อไปแล้วทั้งหมดที่เขาทำได้ก็คือใช้ชีวิต อยู่จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยเงินสนับสนุนจากรัฐบาล มันไม่ใช่ครั้งแรกที่เขารู้สึกถูกปฏิเสธ ล้มเหลว เสียกำลังใจ และท้อแท้ชีวิตของเขาได้รับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่งหลังจาก 65 ปีอันยาวนาน เขาบอกกับตัวเองว่าถ้าเขาดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องมีชีวิตอยู่โดยให้รัฐบาลดูแล เขาก็ไม่สมควรจะมีชีวิตอีกต่อไป เขาตัดสินใจ (อีกแล้ว) ว่า ' จะฆ่าตัวตาย ' เขาหยิบกระดาษหนึ่งแผ่นกับดินสอหนึ่งแท่ง นั่งลงใต้ต้นไม้ในสวนหลังบ้านอย่างสงบตั้งใจที่จะเขียนคำสั่งเสียและพินัยกรรม แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น กลับเหมือนมีอะไรมาดลใจ เหมือนเป็นครั้งแรกที่ชีวิตเกิดปัญญาเขาเริ่มต้นเขียนสิ่งที่เขาควรจะเป็น ชีวิตที่เขาควรจะมีและสิ่งที่เขาปรารถนาในช่วงชีวิตสุดท้ายที่เหลืออยู่ เขาตกใจมาก เมื่อค้นพบความจริงในชีวิตว่า เขายังไม่เคยทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาสักอย่างเลย !(เพิ่งนึกได้) เขานั่งครุ่นคิดกับตัวเองอย่างจริงจัง มีบางอย่างที่เขาสามารถทำได้บางอย่างที่คนที่รอบตัวทำสู้เขาไม่ได้ ใช่ ! เขารู้วิธีปรุงอาหาร ชีวิตเกือบทั้งหมดของเขาอยู่ที่หน้าเตาร้อนๆ มาตลอด เขาตัดสินใจกับตัวเองอีกครั้ง ในที่สุดเขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อทำอะไรสักอย่างในชีวิตให้ประสบความสำเร็จ เขาตั้งใจว่าถ้าเขาจะตาย เขาก็อยากจะตายในแบบที่ได้ลองพยายามเป็นใครสักคน และทำบางสิ่งบางอย่างที่มีค่าด้วยชีวิตที่เหลืออยู่น้อยนิดของเขา เขาลุกจากเงาไม้ มุ่งหน้าไปยังธนาคารในเมือง เพื่อขอยืมเงินจำนวน 87ดอลลาร์จากเช็คประกันสังคมฉบับต่อไปของเขา ด้วยเงิน 87 ดอลลาร์นั้ น เขาซื้อกล่องเปล่าและ ไก่จำนวนหนึ่ง จากนั้นเขาก็กลับไปที่บ้านและลงมือทอดไก่ที่ซื้อมาด้วยสูตรพิเศษที่เขาได้คิดค้นขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ทำงานที่ร้านกาแฟนั้น เขาเริ่มขายไก่ทอดของเขาตามบ้านต่างๆ ในเมืองคอร์บิน รัฐเคนตั๊กกี้ของเขา แล้วคนขายไก่ทอดอายุ 65 ปีคนนั้นก็กลายมาเป็นผู้พันฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส ราชาผู้เป็นที่รักของอาณาจักร Kentucky Fried Chicken หรือที่เรารู้จักกันในนาม KFC นั่นเอง ตอนอายุ 65 ปี เขาเป็นเหมือนอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวที่ยังมีชีวิต แต่ในวัย 85 ปี เขาก็กลายเป็นเศรษฐีพันล้านและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีผู้คนให้เกียรติเขาทั่วประเทศ เรื่องราวชีวิตของผู้พันแซนเดอร์ส เป็นอีกบทหนึ่งของเรื่องราวความสำเร็จที่ได้รับคำยกย่องจากผู้คนทั่วโลก แต่ใครจะรู้บ้างว่าหากใต้ต้นไม้วันนั้นผู้พันแซนเดอร์สได้ทำตามที่เขาตั้งใจไว้แต่แรก ตำนานไก่ทอดสะท้านโลกก็คงจะไม่มีให้เราได้เห็นกัน จริงอย่างที่เขาว่า ความสำเร็จกับความล้มเหลวห่างกันเพียงแค่พลิกฝ่ามือ มันอยู่ที่ว่าคุณเลือกที่จะ 'สู้ต่อ' หรือ 'ยอมแพ้' สำหรับผู้พันแซนเดอร์ส 65 ปี ของ ชีวิตที่ล้มเหลว เทียบคุณค่าอะไรไม่ได้เลยกับ 20 ปีแห่งความสำเร็จ

KFC-4P'S


4p’s


Product


ในส่วนสินค้าของทางด้าน KFC นั้น สิ่งหลัก ก็คือไก่ทอด ซึ่งในประเทศไทยนั้น ไก่ที่นำมาใช้ ได้มาจากบริษัท ซีพีเอฟ โดยที่กระบวนการผลิตอาหารของซีพีเอฟ ในทุกขั้นตอนการผลิตจะมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด นับตั้งแต่การสรรหาและพัฒนาพันธุ์ที่ดี การผลิตอาหารสัตว์ตามหลักโภชนาการสัตว์ การเลี้ยงการจัดการ ไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารก่อนส่งมอบให้ลูกค้า กระบวนการผลิตทั้งหมดได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกมากมายทั้ง GMP, HACCP, ISO9002, ISO14001, TIS18001, ISO/IEC17025, BRC รวมถึง HALAL และที่สำคัญ ซีพีเอฟ เป็นบริษัทแรกนอกเขตยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งระบบ (Traceability) ซึ่งลูกค้า สามารถที่จะมั่นใจได้ว่า ไก่ทอดของร้าน KFC เป็นไก่ทอดที่มีมาตรฐาน และคุณภาพ

Price


ทางด้านราคาของสินค้าในร้านค้า KFC ในประเทศไทย ใช้กลยุทธการตั้งราคาสูงแต่ไม่สูงมากจนเกินไป เพื่อยกระดับร้านอาหาร Fast Food ภายในประเทศ ที่ส่วนมากจะอยู่ในห้างสรรพสินค้า และเพื่อไม่ให้คนไทยมองว่าอาหารเหล่านี้เป็นอาหาร Junk Food หรืออาหารขยะ

Place


Yum! Brands, Inc. (ยัม! แบรนด์ส อิงค์) ผู้ที่เป็นเจ้าของ KFC ในขณะนี้ ได้ทำการขยายตลาด มีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ และขยายสาขาไปมากขึ้นเรื่อยๆ จนในขณะนี้ มีจำนวนสาขามากกว่า 13,000 แห่ง ใน 80 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ร้านของ KFC มักจะมีทำเลอยู่ในแหล่งชุมชน อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า ตามปั้มน้ำมัน และที่พักระหว่างทาง เป็นต้น

Promotion


ในส่วนของการส่งเสริมการขายของทาง KFC นั้น ค่อนข้างที่จะหลากหลาย สิ่งแรกคือการทำเกี่ยวกับเมนูพิเศษ ให้มีความน่าสนใจ มีการจัดทำชุดต่างๆ เพื่อสามารถให้ผู้สั่งสะดวก อีกทั้งชุดเหล่านั้นยังมีราคาที่ถูกกว่าปกติ ในส่วนถัดมาคือ การโฆษณาทางโทรทัศน์ การแจกใบปลิว เป็นต้น

KFC-ช่องทางการตลาด

ช่องทางการตลาดในส่วนของ Home delivery



แม้ว่าช่องทางขายของตลาดโฮมดีลิเวอรี่หรือบริการส่งถึงบ้าน จะยังเป็นตลาดที่เล็กอยู่คือมีมูลค่าเพียง 18% ของมูลค่าตลาดร้านอาหารบริการด่วน (quick service restaurant/QRS) ที่มีอยู่ 8,600 ล้านบาท แต่อัตราการเติบโตของตลาดนี้มีสูงมากประมาณ 20%-25% ขณะที่ตลาด QSR คาดว่าเติบโตประมาณ 10% ใน ปีนี้

ช่องทางการขายโดยให้บริการส่งถึงบ้านจัดว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ซึ่งทาง KFC เพิ่งเริ่มทำตลาดนี้เมื่อเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว โดยสิ้นปีที่ผ่านมามีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 18% แต่เชื่อว่าในปีนี้เราจะเพิ่มยอดเป็น 1 ใน 4 ได้ และปีหน้าเรามีเป้าหมายครองส่วนแบ่งตลาดบริการส่งถึงบ้านให้ได้ 1 ใน 3 หรือ 33%

ทั้งนี้ช่องทางการขายโดยให้บริการส่งถึงบ้านนั้น แม้ว่าจะไม่ได้มีมูลค่ามากมายเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดรวมดังที่กล่าวมา แต่ช่องทางนี้ถือว่าเข้ากับยุคสมัยได้เป็นอย่างดี แต่ KFC ไม่ได้ทำธุรกิจหลักในตลาดนี้ ตลาดหลักของเราอยู่ที่ร้านอาหาร อย่างไรก็ดีที่เราต้องทำตรงนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า เป็นการทำตลาดเสริม
สำหรับการทำตลาดให้บริการส่งถึงบ้านนั้น ตอนนี้มีผู้ทำอย่างเอาจริงเอาจังประมาณ 8-9 ราย โดยผู้ที่ครองตลาดในตอนนี้มีการเรียกใช้บริการจากลูกค้าประมาณวันละ 800 ครั้ง (calls) ซึ่งรวมทั้งโทรฯ สั่งจริงและไม่จริง KFC ตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างฐานในตลาดนี้ด้วยการโทรฯ ประมาณวันละ 400 ครั้ง ซึ่งปัจจัยที่ โดยเน้นเรื่องการฝึกอบรมพนักงานในการที่จะนำอาหารส่งถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว และลูกค้าพึงพอใจ

อีกปัจจัยหนึ่งคือเรื่องการทำประชาสัมพันธ์และรายการส่งเสริมการขาย ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว KFC ใช้งบด้านนี้ประมาณ 250 ล้านบาท และปีนี้เพิ่มเป็น 280 ล้านบาท รวมทั้งมีการเพิ่มช่องทางสั่งอาหารผ่านอินเตอร์เน็ตด้วย

KFC เปิดโฮมเพจของตัวเองอย่างเต็มรูปแบบด้วยรูปลักษณ์และเทคโนโลยีสื่อสารสองทาง (two-way communications) ที่ทันสมัยที่สุด มีกราฟฟิกสีสันสดใสทั้งแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยสามารถเลือกรับข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีหน้าข้อมูลประมาณ 30 หน้า มีข้อมูลประวัติความเป็นมาของ KFC ชุดเมนูใหม่ รายการส่งเสริมการขาย ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ สาระน่ารู้อื่นๆ และเกมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก ตลอด จนให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ ซึ่งสามารถเปิดเข้าไปได้ที่ http://www.kfc.co.th

การสั่งอาหาร KFC ออนไลน์นี้มีเงื่อนไขเล็กน้อยสำหรับผู้ต้องการสั่ง แต่เป็นเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์คือ ผู้สั่งต้องสมัครเป็นสมาชิกไซเบอร์คลับ ไม่มีการเสียสตางค์ เพียงแค่กรอกประวัติที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อายุ ที่อยู่ e-mail เมื่อสมัครแล้วจะได้สิทธิประโยชน์มากมาย อาทิ สกรีน เซฟเวอร์, วอลเปเปอร์, ซอฟต์แวร์ ตลอดจนข่าวสารใหม่ๆ จาก KFC

ทั้งนี้การเปิดให้บริการส่งถึงบ้าน โดยสั่งอาหารผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น อาจจะมีกลุ่มลูกค้าขนาดเล็ก จำกัดเฉพาะผู้เล่นอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นการขยายบริการโฮมดีฯ อีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับกลุ่มคนเล่นอินเตอร์เน็ตที่อยากจะรับประทานอาหาร แต่ก็ไม่อยากละสายตาออกจากหน้าจอ
ในปีนี้ KFC จะเพิ่มร้านที่ให้บริการโฮมดีฯ อีก 5 สาขา เพื่อให้สามารถครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อย 90% ของกรุงเทพฯ เราตั้งใจที่จะทำโฮมดีฯ ให้เติบโตและแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราเห็นว่ามีโอกาสที่ดี

โอกาสที่ว่านั้น หมายความว่า KFC วางตัวเป็นร้านอาหารที่มีราคาสมเหตุสมผล ทุกคนสามารถรับประทานได้ ไม่มีการตั้งราคาสูงเกินเหตุ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ Food Court ต่างๆ หรือร้านอาหารที่มีบริการ take home

KFC-แนวทางดำเนินงาน


แนวทางการดำเนินงานของเคเอฟซีในปี 2551




ในปีนี้ทางบริษัทฯ มีการเตรียมการในส่วนของการขยายสาขาต่อเนื่อง โดยจะเปิดอีกประมาณ 30 สาขาใช้งบลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท รวมไปถึงงบการตลาดในการสร้างแบรนด์เคเอฟซีอีกประมาณ 300 ล้านบาท ทั้งนี้ทางเคเอฟซี ได้นำเสนออาหารที่ตรงใจกับผู้บริโภคให้มากที่สุด โดยจะเพิ่มอาหารที่เป็นแนวสุขภาพ รวมไปถึงเจาะกลุ่มผู้สูงอายุให้มากขึ้น เพื่อที่จะขยายเข้าไปในกลุ่มที่เป็นระดับแมสมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาสินค้าภายในร้านเคเอฟซีให้มีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทฯ เตรียมทำสินค้าประเภทของทานเล่นออกมากระตุ้นตลาด หลังจากปีที่ผ่านมาได้ทำขนมรับประทานเล่น หรืออาหารว่าง ชีสหนึบ จนติดปากลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น ทำให้บริษัทฯ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบของสินค้าอยู่ รวมทั้งทางเคเอฟซีต้องการทำตลาดในส่วนของกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ในช่วงปีที่ผ่านมาสัดส่วนของกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น 10% จากเดิมที่เคเอฟซี จะมีกลุ่มอายุระหว่าง 20 “ 29 ปี สัดส่วนการเข้ามาใช้บริการอยู่ที่ 20% อายุระหว่าง 30 “ 59 ปี สัดส่วนอยู่ที่ 25% และสัดส่วนของคนผู้บริโภคทั่วไปทั้งชายและหญิงรวมกันอยู่ที่ 45%


นโยบาย


นโยบายการเปลี่ยนที่กำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ (Year of Execution) โดยทุกหน่วยงานจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างดีเยี่ยมตามที่วางแผนงานไว้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปี 2010 ที่จะมียอดขาย และ ได้ส่งผลให้ยอดขายรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ได้ส่งผลให้ยอดขายรวมของค่ายยัมมีการเติบโต 16% โดยเฉพาะการเติบโตในส่วนของร้านเคเอฟซี มียอดขายเติบโต 16%


การขยายสาขาต่อเนื่องไปต่างจังหวัดของเคเอฟซี


ปัจจุบันมีสาขาเคเอฟซีในต่างจังหวัดประมาณ 155 สาขา ทั้งนี้สาขาในต่างจังหวัดจะเป็นโฮมเซอร์วิสทั้งหมด พร้อมกันนี้ศักยภาพของเคเอฟซีในต่างจังหวัด มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากคนในต่างจังหวัด มีการรับประทานอาหารที่จะใกล้เคียงกับคนในแถบกรุงเทพฯ เหมือนกัน ทั้งนี้การตีตลาดในแถบในต่างจังหวัด ยิ่งในแถบแหล่งท่องเที่ยวด้วยแล้ว แบรนด์เคเอฟซี จะติดตาคนต่างชาติ และขายดีมากที่สุด ในแถบที่มีคนต่างชาติอาศัยอยู่ และปื 2551 เคเอฟซี จะเพิ่มสาขาในต่างจังหวัดให้มากขึ้น ทั้งนี้สาขาของเคเอฟซีในกรุงเทพฯ ครอบคลุมเกือบหมดแล้ว แต่ต่างจังหวัดยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ทำให้เคเอฟซี พยายามที่เพิ่มสาขาในต่างจังหวัดให้มากที่สุด


การเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆของเคเอฟซี ปี 2551


ความพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่เคเอฟซีจะต้องเป็นสินค้าสุขภาพมีการออกเมนูใหม่ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ที่รักสุขภาพ ทำให้ยอดขายที่เติบโตส่วนหนึ่งเพราะมีการออกสินค้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการออกเมนู เพื่อจับกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพคือ เมนู "วิงอบฮิตส์" และเอเชียน ดีไลต์ สลัด


อีกทั้งการขยายแนวทางการทำตลาดในยุคเศรษฐกิจฝืด ด้วยกลยุทธ์เมนูอาหารที่เน้นคุณภาพ คุ้มค่าราคาอย่างต่อเนื่องในทุกเดือนในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงเปิดเทอม เปิดตัว'ข้าวผัดไก่ทอด' หรือการส่งเมนูใหม่อีกหนึ่งรายการ "ไอศกรีม กรอบสนั่น ซันเด" สแน็กที่เป็นเมนูชั่วคราวในเดือนพฤษภาคมจากเคเอฟซีอย่างไรก็ตามเมนูข้าวผัดไก่ทอด ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี เพราะจุดเด่นชูความอิ่มอร่อยแบบคุ้มค่า เอาใจผู้บริโภคจับกลุ่มครอบครัวในยุคประหยัดโดยเฉพาะจะเปลี่ยนมาบรรจุเป็นเมนูถาวรด้วยเช่นกัน


การเพิ่มความหลากหลายบริการดิลิเวอรี่

ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจดีลิเวอรีหรือจัดส่งถึงบ้านของเคเอฟซีเติบโตขึ้น 27% ขณะที่ยอดขายสาขาในต่างจังหวัดโดยเฉพาะร้านเคเอฟซีสาขาอุดรธานี ขอนแก่น มียอดขายจากเดลิเวอรี่สูงขึ้นถึง 50% ทั้งนี้ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 จะมีการเกาะกระแสนี้ทำตลาดโดยขยายเวลาการให้บริการดีลิเวอรี เพื่อรองรับการชมการ ในช่วงกลางคืนจากเดิมที่เปิดบริการให้ถึงเวลา 24.00 น. เพิ่มการให้บริการถึง 02.00 น. อีกด้วย

กลุ่มลูกค้า

เคเอฟซี มองโอกาสจากการเติบโตมาจากลูกค้าเก่าๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว แต่หัวใจหลักอีกด้านคือ ความสำคัญกับการสื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งการในแง่ของสื่อสารการตลาด เพื่อสร้างแบรนด์เป็นหลัก ผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ควบคู่กับการส่งเมนูใหม่ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาสัดส่วนของกลุ่มวัยรุ่น คนทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 60% และกลุ่มครอบตัว 40% จากเดิมที่เคเอฟซี จะมีลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น คนทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 40% และกลุ่มครอบตัว 60% "

KFC-ส่วนแบ่งตลาด


ส่วนแบ่งทางการตลาด ปี 2551

เคเอฟซีอยู่เป็นอันดับที่ 60 ของ 100 Interband
เคเอฟซีครองส่วนแบ่งการตลาด 52% เป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจอาหารบริการด่วนทั้งหมดในประเทศไทยที่มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 14,500 ล้านบาท

กลุ่มตลาดสินค้าประเภทไก่ มี

เคเอฟซี 75%

แมคโดนัลด์ 15%

เชสเตอร์กริลล์ 11%

ในส่วนของตลาด ดิลิเวอรี่ บริการจัดส่งอาหารถึงบ้านในเมืองไทย มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยตลาดโดยรวมเติบโตประมาณ 30% และเคเอฟซี มีการเติบโตในส่วนของดิลิเวอรี่ ในปี 2550 ประมาณ 40%

KFC-รูปแบบการจัดร้าน


กลยุทธ์ทางการตลาดของ KFC ปี 2551


KFC จะมุ่งเป้าพัฒนาตนเอง ไม่ให้เป็นเพียงแค่ร้านขายไก่ทอด และเฟรนช์ฟรายเท่านั้น และจากการสำรวจ consumer inside มาพบว่า Consumer Expectation สูงขึ้น เขาไม่ต้องการแค่ความรวดเร็ว อร่อย เท่านั้น ประสบการณ์คือสิ่งที่เขาต้องการเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้นอกเหนือจาก Brand as a product as a person แล้วยังรวมถึง Brand as an experience อีกด้วย

รูปแบบร้านโฉมใหม่ของ KFC บนชั้น 6 เซ็นทรัลเวิลด์ สะท้อนถึงภาพลักษณ์อันทันสมัยและดูเป็นมิตรกว่าเคย เสียงเพลง Green Light ซิงเกิลฮิตของ Beyonce ดังเคล้ากลิ่นไก่ทอดอยู่ทั่วร้าน เป็นอีกหนึ่ง Ambience ที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ Global Brand ของ KFC ซึ่งนิจพรบอกว่า เพลงที่เปิดในร้านเป็นเพลงที่ซื้อลิขสิทธิ์จากค่ายเพลงมาแล้ว และเลือกเปิดเฉพาะเพลงสากลเท่านั้น

ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนรูปแบบร้าน KFC ทั่วโลกเริ่มมีมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่เพิ่งจะจริงจังในปี 2550 นี้ เนื่องจากมีการ Roll out ดีไซน์ร้านใหม่ภายใต้ Global Manual จากสำนักงานใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาเพื่อทำการสื่อสารแบรนด์ผ่านทาง Asset ซึ่งหมายถึงร้านที่มีอยู่แล้ว

“ภายใน Global Manual มีหลากดีไซน์ให้เลือก เฉพาะ Exterior มีถึง 5 แบบ ขณะที่ Interior มีข้อกำหนดแบ่งเป็น A Must กับ Recommend มาให้ใช้ตาม Consumer Profile ของแต่ละโลเกชั่น”
ต่างดีไซน์เพื่อลูกค้าหลากกลุ่ม

ที่นั่ง 4 แบบ ประมาณ 160-180 ที่นั่ง สะท้อนถึงความหลากหลายของกลุ่มลูกค้า และช่วยทำให้เกิด “โซนนิ่ง” โดยปริยาย

Dining Zone หรือโซนสำหรับลูกค้าที่ต้องการรับประทานอาหารอย่างเป็นกิจจะลักษณะ โต๊ะสี่เหลี่ยม เก้าอี้มีผนักพิงสีขาว ถูกจัดวางไว้อย่างเรียบง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการรับประทานอย่างเต็มรูปแบบ รองรับกลุ่มครอบครัว

Snacking Zone เป็นโซนสำหรับลูกค้าที่ต้องการ light Meal หรืออาจมานั่งรอนัดหมายกับเพื่อน ดื่มน้ำ ลิ้มรสเฟรนช์ฟรายด์ เก้าอี้ที่โซนนี้จึงเป็นรูปแบบของ Lounge Chair สีแดง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและสบายๆ

Big Group Dining Zone แบ่งดีไซน์ออกเป็น 2 แบบ เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นซึ่งนิยมมากับเพื่อนฝูง ออกแบบจาก Consumer Insight ที่นักเรียน นักศึกษา มักจะมีพฤติกรรมการจับจองโต๊ะที่นั่งด้วยกระเป๋าโละหนังสือ แบบแรกจึงออกแบบเป็นโต๊ะและเก้าอี้สตูลสูงสีขาว ให้ความรู้สึกเหมือนโต๊ะในแคนทีน อีกแบบเป็นโต๊ะและสตูลเตี้ยๆ สีน้ำตาลจัดวางอยู่ด้านข้างเคาน์เตอร์

Outdoor Zone เป็นโซนที่ไม่ได้อยู่ใน Global Manual แต่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองในไทยโดยต้องการให้เป็นลักษณะของ Caf? Outdoor เก้าอี้โครงสเตนเลสพนักพิงและที่นั่งเป็นไม้กับโต๊ะกลม ผนวกกับพื้นไม้ลามิเนตให้ความรู้สึกไม่เคร่งเครียด ดูอบอุ่น ทั้งยังสบายตาด้วยกระถางต้นไม้สีน้ำตาลอ่อนทรงกรวยสี่เหลี่ยมสูงที่ตั้งเรียงรายอยู่ด้านนอก

Booth Zone ที่นั่งเหมือนโบกี้รถไฟ รองรับกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการ Private Space

ใช้กระจกใส

ผนังกระจกเผยให้เห็นบรรยากาศพื้นที่ร้านกว่า 180 ตารางเมตรได้อย่างเด่นชัด ซึ่งเป็น 1 ใน A Must จาก Global Manual ที่จะต้องทำภายใต้โจทย์ของ Exterior ที่ว่า Welcome & Invite

“ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว ผนังภายนอกของร้านจึงเป็นกระจกใสขนาดใหญ่แทนที่จะเป็นแผงแกรนิตที่ทึมทึบซึ่งดูปิดกั้นทำให้ไม่น่าเข้า อีกอย่างหนึ่งเราทำร้านสวย ตกแต่งใหม่ ก็อยากจะให้คนเดินผ่านไปผ่านมาได้เห็นและอยากลองเข้ามาใช้บริการ ขณะเดียวกันลูกค้าที่นั่งทานในร้านก็จะได้เห็นบรรยากาศภายนอกด้วย”

อย่างไรก็ตาม วัสดุที่ใช้ทำทั้งเก้าอี้ โต๊ะ และพื้น นอกจากจะสวยงามแล้วยังมุ่งเน้นประโยชน์ในการใช้สอย ความคงทน และการดูแลรักษาอีกด้วย
พลังแห่งสี

สีแดง ถูกกำหนดให้ต้องมีอย่างปฏิเสธไม่ได้เพราะเป็น 1 ใน Brand Essence ของ KFC แต่สีแดงดูไม่ถูกใช้อย่างดารดาษเหมือนเคย

“เราเลือกจุดที่จะต้องเป็นจุดปะทะของสายตาเป็นหลัก โดยเฉพาะบริเวณทางเข้า โลโก้และเคาน์เตอร์ เป็นต้น”

ขณะที่ Secondary Color ถูกเลือกใช้เพิ่มเติม เป็นกลุ่มโทน Neutral Color อาทิ สีครีม ขาว และน้ำตาลอ่อน ซึ่งจะใช้ในเก้าอี้และโต๊ะบางส่วน ตลอดจนพื้นและผนังบางจุด เพื่อให้บรรยากาศของร้านดูมีชีวิตชีวาและไม่จำเจจนเกินไป และเพื่อไม่ให้ลูกค้ามองว่า KFC ไม่ใช่อะไรๆ ก็สีแดงไปหมดทุกสิ่งอย่าง

นอกจากนี้ในสาขาใหม่ๆ บางแห่งจะเพิ่มลูกเล่นด้วยสีเลมอน สีส้ม กับเก้าอี้บางโซนเพื่อความตื่นเต้นและแปลกใหม่อีกระดับ

ขณะที่โลโก้ “คุณลุงเคนตั้กกี้” ที่ถูกปรับเปลี่ยนมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาก็ใช้พลังแห่งสีสื่อถึงความมีชีวิตชีวามากขึ้น จากเดิมมีแต่สีแดงและขาว มาเป็นสีแดง ขาว และสีพลาสเทล เพื่อให้เหมือนกับผิวคนมากขึ้น
ผนังมีชีวิต

Mural พิมพ์ลาย Original Recipe อวดโฉมอยู่บริเวณด้านข้างเคาน์เตอร์ นี่เป็นอีกหนึ่งใน Brand Essence ที่ขาดไม่ได้ เพื่อตอกย้ำถึงจุดเด่นในเรื่องของการเป็นไก่ทอดสูตรต้นตำรับอันเป็นตำนานแห่งความสำเร็จที่ส่งผ่านมาถึงปัจจุบัน ขณะที่อีกด้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันเป็น Mural สีแดงเล่นลวดลายกราฟิกแต่ไม่วายมีโลโก้ KFC ให้เห็น ส่วน Lifestyle Mural บริเวณโซนที่นั่งแบบ Booth เป็นรูปหนุ่มสาวหัวเราะอย่างเบิกบาน สะท้อนถึงความสุขสนุกสนานของช่วงเวลาที่ใช้ในร้าน KFC และเพื่อสร้าง Emotional Touch กับลูกค้าอีกด้วย
ตามรอยดีไซน์ขั้นเทพ

สำหรับรูปแบบร้านในอนาคต นิจพรบอกว่า อาจเห็นร้านเปรี้ยวๆ มันส์ๆ ตกแต่งแบบ Trendy for Young Adult แบบ KFC สาขาฌองเอลิเซ่ ซึ่งเป็นสาขาที่มียอดขายสูงที่สุดของ KFC ทั่วโลก และเป็น World Flagship Store ภายในร้านมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับลูกค้าต่างโปรไฟล์อย่างชัดเจน บางโซนตกแต่งเหมือน Underground Pub ด้วยไลท์ติ้งหลากสีสัน นอกจากนี้ยังมีบริการเสริมด้วยตู้เวนดิ้งหยอดเหรียญตั้งอยู่ตรงกลางร้านสำหรับลูกค้าที่ต้องการ Self Service และมี Attitude Board พร้อมกล้องถ่ายรูปให้วัยรุ่นมาถ่ายรูปตัวเองและโพสต์ข้อความติดบนบอร์ดถึงเพื่อนๆ เป็นต้น

หมัดหนักของ KFC

สำหรับทุกสาขาของ KFC 303 สาขา จะทยอยปรับเข้าสู่ New Design แม้จะไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน แต่ที่ชัดเจนคือ สาขาใหม่ทุกสาขาจะใช้การตกแต่งใหม่ทั้งหมด อาทิ สาขานวนคร สายใต้ใหม่ และสาขาอื่นๆ ในต่างจังหวัดที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตตามการขยายตัวของศูนย์การค้ารูปแบบต่างๆ

KFC-PROMOTIONS

โปรโมชั่น





















- ชุดกุ้งแอนด์แกงค์ 1 ราคา 199 บาท(ปกติ 210 บาท)

ไก่ทอด 4 ชิ้น
กุ้งโดนัท 1 ชิ้น (40กรัม)
ทูน่าคอร์นสลัดปกติ(80กรัม)1ถ้วย
เป๊ปซี่ 500 มล.

วันนี้ถึง 28 สิงหาคมนี้เท่านั้น





















- ชุดกุ้งแอนด์แกงค์ 2 ราคา 299 บาท (ปกติ 309 บาท)

ไก่ทอด 5 ชิ้น
กุ้งโดนัท 1 ชิ้น (40 กรัม)
ไก่วิงซ์แซ่บ 3 ชิ้น
ไฟว์แมจิกสลัด 1 กล่อง (72 กรัม)
เป๊ปซี่ 1.25 ลิตร

วันนี้ถึงวันที่ 28 สิงหาคมเท่านั้น





















- ชุดกุ้งแอนด์แกงค์จัมโบ้ ราคา 499 บาท (ปกติ 531 บาท)

ไก่ทอด 8 ชิ้น
กุ้งโดนัท 1 ชิ้น (40กรัม)
ฟิชฟิงเกอร์ 3 ชิ้น (62 กรัม)
นักเก็ตส์ 6 ชิ้น (86 กรัม)
ไฟว์แมจิกสลัด 1 กล่อง (72 กรัม)
มันบด (ปกติ) 1 ถ้วย (75กรัม)
เป๊ปซี่ 1.25 ลิตร
ฟรี ทูอินวัน กระดาษโน้ตแม่เหล็กพร้อมปฏิทิน (จำนวนจำกัด)

วันนี้ถึงวันที่ 28 สิงหาคมนี้เท่านั้น


- Super Save: เมื่อซื้อ 199 บาทขึ้นไป

พิเศษ แลกซื้อเพียง 39 บาท(ปกติ 49 บาท)
ไก่ป๊อป 1 กล่อง (60 กรัม) หรือ
เคเอฟซีนักเก็ตส์ 6 ชิ้น (86 กรัม)

วันนี้ ถึง 28 ส.ค. นี้เท่านั้น

KFC-MENU


อะ ลา คาร์ด
ไก่ทอด

ไก่นุ่มคลาสสิค / ไก้กรอบ ฮอต แอนด์ สไปซี่
1 ชิ้น 34 บาท
2 ชิ้น 68 บาท
3 ชิ้น 102 บาท
6 ชิ้น 204 บาท
10 ชิ้น 340 บาท

- วิงซ์แซ่บ
3 ชิ้น 45 บาท
5 ชิ้น 75 บาท

- วิงอบฮิตส์

3 ชิ้น 49 บาท
5 ชิ้น 79 บาท

เครื่องเคียง

- ไฟว์ แมจิก สลัด 35 บาท

พร้อมน้ำสลัดซีอิ้วงาญี่ปุ่น 35 กรัม
น้ำหนักผักสดโดยประมาณ 72 กรัม

วันที่ 4 ก.ค. ถึง 25 ก.ย. 2551 เท่านั้น
(หรือจนกว่าของจะหมด)

- ทูน่า คอร์น สลัด

ปกติ ( 80 กรัม) 25 บาท
ใหญ่ ( 140 กรัม) 35 บาท

- มันบด
ปกติ (75 กรัม) 22 บาท,ใหญ่ (318 กรัม)39 บาท

- เฟรนช์ฟรายส์

ปกติ (40 กรัม) 20 บาท
ใหญ่ (60 กรัม) 37 บาท
จัมโบ้ (100 กรัม)44 บาท

เมนูสุขภาพ

- ข้าวยำไก่แซ่บ 55 บาท


เบอร์เกอร์และพัพ

- ซิงเกอร์เบอร์เกอร์ 55 บาท


- เบอร์เกอร์ไก่บัดดี้ 29 บาท


- พัฟกุ้งค็อกเทล 59 บาท


- พัฟไก่ชีสซี่ 55 บาท



เมนูทานเล่น

- ไก่ป๊อปดิ๊ป

ปกติ (60 กรัม ) 49 บาท
ไก่ป๊อปดิป 1 กล่อง เลือกซอสได้ 1 ถ้วย (15 กรัม)

- ซูชิกรอบ

ปกติ (40 กรัม) 29 บาท

- กุ้งโดนัท

ปกติ (40 กรัม)
วันนี้ถึง 31 ธันวาคมนี้เท่านั้น

- เคเอฟซีนักเก็ตส์

6 ชิ้น 49 บาท (86 กรัม)
12 ชิ้น 98 บาท (107 กรัม)

- ฟิชฟิงเกอร์


3 ชิ้น 45 บาท (62 กรัม)


KFC-SET คอมโบ

ชุดคอมโบ

- ชุดสุดคุ้ม 399 บาท (ปกติ 451 บาท)

ไก่ทอด 6 ชิ้น
ไก่ป๊อบ 1 กล่อง (60 กรัม)
ไก่วิงอบฮิตส์ 3 ชิ้น
ฟิชฟิงเกอร์ 3 ชิ้น (62 กรัม)
นักเก็ตส์ 6 ชิ้น (86 กรัม)
ไฟว์แมจิกสลัด 1 กล่อง ( 72 กรัม)
เป็ปซี่ 500 มล.

- ชุดสุดคุ้ม 429 บาท (ปกติ 487 บาท)

ไก่ทอด 9 ชิ้น
ไก่วิงอบฮิตส์ 3 ชิ้น
ไก่วิงแซ่บ 3 ชิ้น +
ไฟว์แมจิกสลัด 1 กล่อง ( 72 กรัม)
มันบด ปกติ 1 ถ้วย ( 75 กรัม)
เป็ปซี่ 1.25 มล.

- ชุดสุดคุ้ม 450 บาท (ปกติ 557 บาท)

ไก่ทอด 9 ชิ้น
ไก่วิงอบฮิตส์ 3 ชิ้น
ไก่ป๊อบ 1 กล่อง (60 กรัม)
นักเก็ตส์ 6 ชิ้น (86 กรัม)
ไฟว์แมจิกสลัด 1 กล่อง ( 72 กรัม)
ทูน่าคอร์นสลัด ปกติ 1 ถ้วย (80 กรัม)
มันบด ปกติ 2 ถ้วย ( 75 กรัม)

KFC-SET ชิกกี้มิล

ชิกกี้มิล

- Chicky Dynamic Sport

ชิกกี้ ยอดนักกีฬา
สะสมให้ครบทั้ง 4 แบบ

แบบที่1 ชิกกี้กระโดดไกล
เริ่มจำหน่ายศุกร์ที่ 11 ก.ค. 51

แบบที่2 ชิกกี้ยิมนาสติก
เริ่มจำหน่ายศุกร์ที่ 18 ก.ค. 51

แบบที่3 ชิกกี้ยกน้ำหนัก
เริ่มจำหน่ายศุกร์ที่ 25 ก.ค. 51

อร่อยสนุกเลือกได้

- เลือกอาหาร
ไก่ทอด 1 ชิ้น / ฟิชฟิงเกอร์ 3 ชิ้น / ไก่ป๊อป / นักเก็ตส์ 4 ชิ้น

- เลือกเครื่องดื่ม
เป๊ปซี่ ขนาด 9 ออนซ์/น้ำส้ม110 มล./น้ำองุ่น110 มล.

- พร้อมของเล่น 1 ชิ้น ราคา 69 บาท

- พร้อมสิทธิพิเศษ
แลกซื้อเฟร้นฟรายส์(ปกติ)/ มันบด(ปกติ) / ทูน่า คอร์น สลัด (ปกติ) / ไอศครีมโคน ในราคาเพียง 10 บาท

KFC-ICE CREAM

เมนูไอศกรีม
- ไอศกรีมโคน


โคน ช็อคโกแลต 10 บาท
โคน ทู โทน 10 บาท
โคน วนิลา 10 บาท

- ไอศกรีมโคนดิป

โคน ดิป 15 บาท

โคน ดิป นัตตี้ 18 บาท
โคน ดิป เรนโบว์ 18 บาท

- ไอศกรีมซันเด


ช็อคโกแลต ซันเด 25 บาท
สตรอเบอร์รี่ ซันเด 25 บาท
คอร์น ซันเด 29 บาท

- สปินนี่

ปกติ 25 บาท
ใหญ่ 37 บาท

โปรโมชั่น

ใหม่ กีวี่เบอร์รี่ซันเด


เปรี้ยวหวานอย่างลงตัวด้วยท้อปปิ้งรส
สตรอเบอร์รี่และกีวี่ยอดนิยม พร้อมความกรอบจากคุ้กกี้บดรสเนย และเพิ่มความอร่อยด้วย
เยลลี่รสสตรอเบอร์รี่และเชอร์รี่ดิปช็อคโกแล็ต
เพียง 29 บาทเท่านั้น
วันนี้ถึง 11 กันยายน 2551

KFC-โฆษณายุกแรก


PRAND AD

























































โฆษณา TVC

ปี 1969

ปี 1970
http://www.youtube.com/watch?v=LrRXWhwHxjo&feature=related

ปี 1970
http://www.youtube.com/watch?v=4B2HuT5k0hs&feature=related

KFC-โฆษณาทั่วโลก

PRANT AD